ตะลิงปลิง

ชื่อสมุนไพร       : ตะลิงปลิง

ชื่อพื้นเมือง       : มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มูงมัง (เกาะสมุย), กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง (ระนอง), บลีมิง (นราธิวาส), มะเฟืองตรน, หลิงปลิง (ภาคใต้) เป็นต้น

วงศ์               :  กระทืบยอด (OXALIDACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Averrhoa bilimbi L.

ชื่อสามัญ         :  Bilimbi, Bilimbing, Cucumber tree, Tree sorrel

ลักษณะของสมุนไพร  :  มีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกทั่วไปเพราะลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม และยังเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง แต่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงขนาดของผล โดยผลมะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง ต้นตะลิงปลิงนั้นจัดเป็นพืชในเขตร้อนและเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง ใบตะลิงปลิง เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขุยนุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  ประโยชน์ตะลิงปลิง ผลสามารถนำมารับประทานร่วมกับพริกเกลือหรือนำไปใส่แกงก็ได้ ตะลิงปลิงตากแห้ง หรือทำเป็นเครื่องดื่มนํ้าตะลิงปลิง ใบสามารถนำพอกใช้รักษาสิวได้ (ใบ, ราก) ทุกส่วนนำมาใช้ทำยาสมุนไพร เนื่องจากต้นตะลิงปลิงมีทรงพุ่มหนา ลำต้นไม่สูงมาก จึงนิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาภายในบ้านดอกตะลิงปลิงนำมาบดผสมน้ำ และคั้นเอาน้ำสำหรับใส่ทำขนม ซึ่งจะให้สีแดงม่วงหรือสีม่วง น้ำคั้นจากผลตะลิงปลิงนำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง อาทิ ครีมบำรุงผิว แชมพู และสบู่ เป็นต้น

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก