สมอไทย

ชื่อสมุนไพร       : สมอไทย

ชื่อพื้นเมือง       : มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หมากแน่ะ, ม่าแน่ (ภาคอีสาน), สมออัพยา, ลูกสมอ เป็นต้น.

วงศ์               :  (COMBRETACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Terminalia chebula Retz. ชื่อสามัญ   :  Chebulic Myrobalans (คิบูลิค ไมโรบาลัน)

ลักษณะของสมุนไพร เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะของผลมีลักษณะค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปไข่ มีผิวเรียบสีเขียวอมเหลืองหรือแดง ในผลมีเมล็ดเดียวแห้งแล้วจะเป็นสีดำ โดยสมอไทยเป็นสมุนไพรไทยที่สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้หลายส่วนไม่ว่าจะเป็นดอก ผล หรือแม้แต่เปลือกต้นก็ตาม สมอไทยได้รับการยอมรับว่าเป็น “ราชาสมุนไพร” เนื่องจากช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งดีกว่ายาทั่วไปที่ช่วยถ่ายท้องได้ แต่แก้อาการท้องผูกไม่ได้ และยังช่วยชำระล้างลำไส้ได้อีกด้วย และยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ลูกสมอช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง (ผลรสเค็ม) ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและช่วยบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด ช่วยให้เจริญอาหาร (เมล็ด) ช่วยบำรุงกำลัง (ผลรสหวาน) แก้อาการอ่อนเพลีย (ผลแก่นำมาดองกับน้ำมูตรโคดื่มบรรเทาอาการ) ช่วยบำรุงร่างกาย (ผลแก่) ช่วยบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น) ช่วยฟอกโลหิต (ผลรสเปรี้ยว) ช่วยแก้กระหาย (ผลรสเปรี้ยว) ช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับสบาย (ผลรสเค็ม) แก้อาการนอนสะดุ้ง (ผลแก่) ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกที่เป็นแผล ช่วยสมานแผลในช่องปาก (ผลรสฝาด) ช่วยควบคุมธาตุในตัว (ผล) ช่วยแก้พิษร้อนใน (ผล) ช่วยแก้ไข้ (ผลรสขม) แก้เจ็บคอ (ผลแก่) หรือจะใช้เนื้อผลรสฝาดทำเป็นยาชงใช้อมกลั้วคอแก้อาการก็ได้เช่นกัน ช่วยแก้อาการไอ (ผลรสเปรี้ยว) แก้อาการหืดไอ (ผลรสฝาดเปรี้ยว) แก้อาการสะอึก (ผลรสฝาดเปรี้ยว) ช่วยแก้อาเจียน (ผลรสฝาดเปรี้ยว) ช่วยกัดเสมหะ (ผลรสเปรี้ยว) ช่วยขับเสมหะ (ผลอ่อน) ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ (ผลแก่) ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่ายให้คล่องตัว

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก