กระชายดำ

ชื่อสมุนไพร       : กระชายดำ

ชื่อพื้นเมือง       : ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ) เป็นต้น

วงศ์               :  ZINGIBERACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :   Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. 

ชื่อสามัญ         :  Black galingale

ลักษณะของสมุนไพร  เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดินรากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นข้อสั้นๆ ไม่ยาวเหมือนกับกระชายธรรมดา เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่นหรือสีดำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. แทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก ดอกมีสีชมพูอ่อนๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใช้บำรุงกำลังแก้ปวดเมื่อยและอาหารเหนื่อยล้าและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศและขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้จุดเสียด แก้เสียดท้อง หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก หรือต้มแก้โรคตา ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย แก้กามตายด้าน ด้วยการใช้เหง้ากระชายดำสดนำมาดองกับเหล้าขาวและน้ำผึ้งแท้ ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด ดองทิ้งไว้ประมาณ 9-15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1-2 เป๊ก สรรพคุณในตำรายาไทยของกระชายดำ ระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ในการใช้แบบพื้นบ้าน จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน โดยเอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือทำเป็นยาดองเหล้าและดองน้ำผึ้ง แต่ในปัจจุบันนี้จะพบเห็นผลิตภัณฑ์ของกระชายดำวางจำหน่ายในท้องตลาด ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ชาชง ยาแคปซูล ยาน้ำ ยาเม็ด กาแฟ และไวน์กระชายดำ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก