กระวานแดง

ชื่อสมุนไพร       : กระวานแดง

ชื่อพื้นเมือง       : ปล้าก้อ (ปัตตานี), กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), มะอี้ (ภาคเหนือ)

วงศ์                         :  ขิง (ZINGIBERACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Amomum verum Blackw.

ชื่อสามัญ         :  Best cardamom, Camphor, Clustered cardamom, Siam cardamom

ลักษณะของสมุนไพร ต้นกระวาน จัดเป็นไม้ล้มลุกมีเหง้า มีความสูงประมาณ 2 เมตร โดยมีกาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น โดยต้นกระวานมักขึ้นในที่ร่มหรือใต้ร่มไม้ที่มีความชื้นสูง หรือในที่ที่มีฝนตกชุกและอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 800 ฟุตขึ้นไป โดยมักจะพบขึ้นทั่วไปตามไหล่เขาในบริเวณป่าดงดิบ ใบกระวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบแคบและยาว เป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ดอกกระวาน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกออกมาจากเหง้า ชูขึ้นขึ้นมาเหนือพื้นดิน เรียงสลับซ้อนกันตลอดช่อ ในซอกใบประดับจะมีดอกประมาณ 1-3 ดอก ปลายกลีบเลี้ยงมีหยัก 3 หยัก กลีบดอกมีสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรตัวผู้เป็นแบบไม่สมบูรณ์เพศ แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่สีขาว มีแถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ เหง้าอ่อนของกระวานใช้รับประทานเป็นผักได้ ให้กลิ่นหอมและมีรสเผ็ดเล็กน้อย ผลแก่ของกระวานนำมาตากแห้ง สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหารได้อย่างปลอดภัยเมล็ดมีกลิ่นหอม ใช้สำหรับแต่งกลิ่นขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ และยังช่วยแต่งกลิ่นและดับกลิ่นคาวของอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้อีกด้วยกระวานไทยสามารถนำมาใช้ทดแทนกระวานเทศได้มีการนำผลกระวานมาแปรรูปทำเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ โดยน้ำมันกระวานสามารถนำไปแต่งกลิ่นเหล้า หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ รวมไปถึงยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมอีกด้วยกระวานเป็นเครื่องเทศส่งออกของประเทศไทยที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศปีละนับล้านบาท

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 บ้านซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางบุญชิด กาปาทุม  อายุ 62 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 792 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก