กลีบแรด

ชื่อสมุนไพร       : กรีบแรด

ชื่อพื้นเมือง       : กีบแรด, ปากูปี, ปียา, กีบม้าลม, ว่านกีบม้า, ปากูดาฆิง, ดูกู, โด่คเว่โข่, เฟิร์นกีบแรด, กูดกีบม้า, ผักกูดยักษ์ เป็นต้น

วงศ์               :  MARATTIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm. 

ชื่อสามัญ         :  Giant fern, Mule’s-foot fern

ลักษณะของสมุนไพร กีบแรด จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น มีความสูงได้ประมาณ 60 – 180 เซนติเมตร โคนต้นพอง อยู่ติดกับพื้นผิวดิน มีหัวลักษณะเป็นกีบอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ พรรณไม้ชนิดนี้ปลูกเลี้ยงยาก มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างหัวมีลักษณะคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ หัวเป็นสีน้ำตาลแก่ เมื่อนำมาหักดูภายในจะเป็นสีเหลืองคล้ายขมิ้น และมีรสเย็นฝาดใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบรวมทั้งหมดยาวประมาณ 1.8 – 4.5 เมตร และกว้างได้ถึง 2 เมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนไม่เท่ากันหรือเป็นรูปหัวใจตื้น ๆ และเบี้ยว ส่วนขอบใบจักมน จักเป็นฟันเลื่อย หรือจักถี่ ๆ ตลอดทั้งขอบใบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1 – 4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10 – 30 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา อวบน้ำ มีเมล็ดสีน้ำตาล

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำหัวว่านกีบแรดมาสับแล้วตากให้แห้ง นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งเดือนห้า ดีปลี และพริกไทย ปั้นเป็นลูกกลอน กินเป็นยาบำรุงกำลัง หรือนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นประจำจะช่วยควบคุมน้ำตาลในโรคเบาหวาน ลดความดัน แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว ใบสดทั้งอ่อนและแก่ ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไอ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์ อายุ 46 ปี ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก