กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่อสมุนไพร       : กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่อพื้นเมือง       : ขาวไก่ ตาไก่ ตากวาง เครือตากวาง

วงศ์               :  กระทงลาย (CELASTRACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Salacia chinensis L.

ชื่อสามัญ         :  Salacia chinensis L.

ลักษณะของสมุนไพร ต้นกำแพงเจ็ดชั้น จัดเป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง มีความสูงของต้นประมาณ 2-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีสีเทานวล ด้านในเนื้อไม้มีวงปีเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มจำนวนหลายชั้นเห็นได้ชัดเจน เรียงซ้อนกันอยู่ประมาณ 7-9 ชั้น สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าชายทะเล ตามป่าดิบริมแหล่งน้ำหรือที่โล่ง และป่าเบญจพรรณ ที่มีความระดับความสูงถึง 600 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  สมุนไพรที่ขึ้นชื่อเรื่องการช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย (คนละชนิดกันกับต้น “ว่านกำแพงเจ็ดชั้น“) เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะอัตราการเกิดและการอยู่รอดมีความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกและทำลายมาก ในบางพื้นที่ของป่าตามชุมชนต่าง ๆ ก็มีจำนวนจำกัด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจในการเพาะและขยายพันธุ์เพื่อใช้ปลูกทดแทนในป่า และส่งเสริมให้มีการปลูกตามหัวไร่ปลายนาในชุมชนลำต้นกำแพงเจ็ดชั้นช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 1-2 ช้อนชา ช่วงเช้าและเย็น หรืออีกสูตรให้ใช้ผสมเข้ากับเครื่องยารากชะมวง รากตูมกาขาว และรากปอก่อน (ลำต้น) หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองเป็นสุราไว้ดื่มก็ได้เช่นกัน ช่วยบำรุงกำลัง  ช่วยแก้อาการผอมแห้งแรงน้อย (ใช้ต้นผสมกับเปลือกต้นมะดูก) ช่วยแก้เบาหวาน ด้วยการใช้ลำต้นผสมเข้ากับเครื่องยาแก่นสัก รากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู และหญ้าชันกาดทั้งต้น (ต้น) ผสมเข้ากับเครื่องยารากชะมวง รากตูมกาขาว และรากปอด่อน (ต้น) หรือจะใช้รากและแก่นกำแพงเจ็ดชั้น นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาระบายก็ได้เช่นกัน (แก่น, ราก) นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ผลก็สามารถใช้รับประทานได้เช่นกัน

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 บ้านซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางบุญชิด กาปาทุม  อายุ 62 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 792 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก