ช้อยนางรำ

ชื่อสมุนไพร       : ช้อยนางรำ

ชื่อพื้นเมือง       : ว่านมีดยับ, แพงแดง, ค่อยช้างรำ, ช้อยช่างรำ, นางรำ เป็นต้น

วงศ์               :  FABACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Codariocalyx motorius (Houtt.) Ohashi

ชื่อสามัญ         :  Telegraph plant, Semaphore plant

ลักษณะของสมุนไพร ช้อยนางรำจัดเป็นไม้พุ่ม มีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เปลือกลำต้นเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว ใบเดี่ยวรูปไข่ เส้นกลางใบสีขาวนวล ที่โคนก้านใบมีหูใบสองอัน ดอกช่อ ดอกย่อยสีม่วงแกมขาว ผลเป็นฝักแบน มีเมล็ดสีดำแบน 2-6 เมล็ด

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำใบช้อยนางรำชนิดแห้ง (ชาแห้ง) หนัก 1 กรัม นำมาชงด้วยน้ำร้อนปริมาตร 50 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 ถ้วย) พบว่าจะช่วยในการช่วยขับล้างสารพิษออกจากร่างกาย แก้ไข้ตัวร้อน แก้ฝีภายใน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงประสาท

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์ อายุ 46 ปี

ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก