ป่าช้าชัง

ชื่อพื้นเมือง       : ขันทองพยาบาท, ขนุนดง, ขัณฑสกร, สลอดน้ำ, ช้องรำพัน, ขันทอง, ข้าวตาก, หมากดูก, มะดูก, ข้าวตาก, ขุนทอง, ดูกหิน, โจ่ง, ดูกไหล, ทุเรียนป่า, ยางปลอก, ฮ่อสะพานควาย, มะดูกดง เป็นต้น

วงศ์               :  EUPHORBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Suregada multiflorum (A.Juss.) Baill.

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร ป่าช้าชัง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงตั้งแต่ 3-7 เมตร ลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบเป็นขอบขนาน ขนาดใบกว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 9-22 เซนติเมตร มีดอกเป็นช่อสั้น ๆ ดอกตัวผู้จะมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกรวมกันเป็นกระจุกเล็ก ๆ กว้าง 12 มิลลิมเมตร     มีกลีบรองดอก 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก แต่จะมีเกสรอยู่มาก ส่วนดอกตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายกันแต่จะมีรังไข่ที่เหนือวงกลีบ และมีขนดอกหนาแน่น ผลมีลักษณะเกือบกลม ผิวเกลี้ยง ขนาดผลประมาณ 2 เซนติเมตร และแบ่งออกเป็นเล็ก ๆ จำนวน 3 พู ผลอ่อนจะมีเนื้อสีเขียว ส่วนผลแก่จะมีเนื้อสีเหลืองแสด เมล็ดมีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือ 7-8 มิลลิเมตร โดยหนึ่งผลจะมี 3 เมล็ดอยู่ในแต่ละพูของผล มีเนื้อเยื่อขาว ๆ หุ้มอยู่

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใช้เปลือกต้นนำมาต้มแล้วพอกหรือตำคั้นเอาแต่น้ำนำมาใช้ทารักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน รักษาโรคเรื้อน กลากเกลื้อน รักษามะเร็ง มะเร็งคุดทะราด นำใบมาล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด จากนั้นนำมาบรรจุแคปซูล รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร เช้าและเย็น ช่วยลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด แก้ไข้ แก้ไอ ปวดศีรษะ ต้นใช้ต้มกับน้ำอาบสำหรับสตรีอยู่ไฟ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 บ้านซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางบุญชิด กาปาทุม  อายุ 62 ปี

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 792 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก