ฝาง

ชื่อสมุนไพร       : ฝาง

ชื่อพื้นเมือง       : ขวาง,  ฝางแดง, หนามโค้ง, ฝางส้ม, ฝางเสน เป็นต้น

วงศ์               :  FABACEAE  (CAESALPINIACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Caesalpinia sappan L.

ชื่อสามัญ         :  Sappan  , Sappan tree

ลักษณะของสมุนไพร ไม้พุ่ม ทรงพุ่มแผ่กว้าง สูง 4 – 8 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป แก่นเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้มหรือส้มแดง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับ แกนช่อใบยาวประมาณ  20-40 ซม. ใบย่อย 8-15 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 5-10 มม.ยาว 8-20 มม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ใบเกลี้ยงหรือมีขนบ้างประปรายทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนาดสั้นมากหรือไม่มี หูใบยาวประมาณ 3-4 มม. หลุดร่วงได้ง่าย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ยาว20-30 ซม. ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ขอบกลีบดอกย่น ออกดอกในช่วงต้นฤดูฝนเป็นต้นไป ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ฝักแบนแข็งเป็นจะงอยแหลมสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. โคนฝักแคบกว่าปลายฝัก มีเมล็ด2-4 เมล็ด เมล็ดรูปรี กว้าง 0.8-1 ซม.

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ แก่นฝางเมื่อนำมาทำเป็นยาสมุนไพรโดยการต้มเพื่อใช้ดื่ม จะมีฤทธิ์บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน บรรเทาอาการท้องร่วง ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บรรเทาอาการโลหิตออกทางทวารหนักและทางปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ได้ดี เช่น ในลำไส้และกระเพาะอาหาร เลือดกำเดาในจมูก เป็นต้น โดยการนำแก่นฝางมา

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์   อายุ 46 ปี

ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก