ฟ้าทะลายโจร

ชื่อสมุนไพร       : ฟ้าทะลายโจร

ชื่อพื้นเมือง       : ฟ้าทะลาย, น้ำลายพังพอน, สามสิบดี, เขตตายยายคลุม, หญ้ากันงู, ฟ้าสะท้าน, เมฆทะลาย , ฟ้าสาง, ขุนโจรห้าร้อย เป็นต้น

วงศ์               :  ACANTHACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees

ชื่อสามัญ         :  Kariyat

ลักษณะของสมุนไพร ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชล้มลุกมีความสูงประมาณ 30 – 70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นเหลี่ยมสี่มุม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างเรียวยาวสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายแหลม กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ มีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ด้านในสีม่วง โคนกลีบติดกัน กลีบดอกด้านบนมี 3 หยักด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักเมื่อผลแก่จะมีสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ (ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการใช้) ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กำมือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือในขณะที่มีอาการ นำใบมาตากแห้งและทำเป็นยาผงแล้วใช้สูดดม ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ช่วยลดและขับเสมหะ หรือทำเป็นยาชง ด้วยการใช้ใบสดหรือใบแห้ง ประมาณ 5-7 ใบ แล้วนำมาต้มกับน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่ออุ่นแล้วก็นำมารินดื่ม โดยให้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์ อายุ 46 ปี ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก