มะฝ่อ

ชื่อสมุนไพร       : มะฝ่อ

ชื่อพื้นเมือง       : มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะปอบ (ภาคเหนือ), ม่อแน่ะ เส่โทคลึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หม่าที (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

วงศ์                         :  วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Trewia nudiflora L.

ลักษณะของสมุนไพร ต้นมะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็ก ๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร ใบมะฝ่อ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง รูปไข่แกมรี รูปหัวใจ หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนแหลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบคล้ายใบโพ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นที่เส้นใบมีขน ส่วนด้านล่างมีขนขึ้นปกคลุม เส้นใบแตกจากฐานใบ 3 เส้น ใบอ่อนมีขนรูปดาวหนาแน่น ใบแก่บางเป็นสีเขียวออกเหลือง

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ผลมีรสหวาน ใช้รับประทานได้เนื้อไม้ใช้ทำหีบ ลังใส่ของ และใช้ทำก้านไม้ขีด คนสมัยก่อนจะนำมาใช้ทำแอกไถนา เพราะมีน้ำหนักเบา

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 บ้านซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางบุญชิด กาปาทุม  อายุ 62 ปี

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 792 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก