ยอ

ชื่อสมุนไพร       :  ยอ

ชื่อพื้นเมือง       : มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยอ แย่ใหญ่ (แม่ฮ่องสอน), ตาเสือ มะตาเสือ (ภาคเหนือ), ยอบ้าน (ภาคกลาง) เป็นต้น

วงศ์               :  เข็ม (RUBIACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Morinda citrifolia L.

ชื่อสามัญ         :  Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่งที่ปลูกหรือภาษา เช่น Noni (จากฮาวาย), Meng kudu (มาเลเซีย), Ach (ฮินดู)

ลักษณะของสมุนไพร  ต้นยอเป็นพืชพื้นเมืองในแถบโพลีนีเซียตอนใต้ (Polynesia) และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ยอบ้านและยอป่า ที่เราพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือยอบ้าน ยอเป็นไม้ยืนต้น มีใบสีเขียว มีดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะของผลยาวรี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีขาวนวล มีเนื้อนุ่ม ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีน้ำตาล สำหรับรสชาติจะออกรสเผ็ดและมีกลิ่นแรง

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  ใช้ผลดิบหรือห่าม(ยังไม่สุก) ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ  ย่างหรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง  ใช้ครั้งละ  2  กำมือ  น้ำหนักประมาณ  10-15  กรัม  ต้มหรือชงน้ำดื่มจิบแต่น้ำบ่อย ๆ ขณะที่มีอาการ  ถ้าดื่มครั้งละมาก ๆ จะทำให้อาเจียน ผลมีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมในลำไส้ ขับผายลม บำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร ผสมในยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย เหงือกบวม ขับระดูเสีย ขับเลือดลม ฟอกเลือด ขับน้ำคาวปลา แก้เสียงแหบแห้ง แก้ตัวเย็น แก้ร้อนในอก แก้กระษัย แก้อาเจียน  โดยนำมาหมกไฟหรือต้มกับน้ำกิน หรือนำมาจิ้มกับน้ำผึ้งทาน ตำราสรรพคุณยาไทยกล่าวว่าผลอ่อนกินเป็นยาแก้คลื่นเหียนอาเจียน ผลสุกงอมเป็นยาขับระดูสตรี ผลดิบเผาเป็นถ่านผสมเกลือเล็กน้อย อมแก้เหงือกเปื่อยเป็น

ขุมบวม หั่นปิ้งไฟพอเหลืองทำกระสายยา

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก