รางแดง

ชื่อสมุนไพร       : รางแดง

ชื่อพื้นเมือง       : ก้องแกบ, เขาแกลบ, เห่าดำ, ฮองหนัง, ฮ่องหนัง, ปลอกแกลบ, เถามวกเหล็ก, เถาวัลย์เหล็ก, กะเลียงแดง, แสงอาทิตย์, แสงพระอาทิตย์, รางแดง, ก้องแกบ, ก้องแกบเครือ, ก้องแกบแดง, เครือก้องแกบ, หนามหัน, เถาวัลย์เหล็ก, เถามวกเหล็ก, กะเลียงแดง, รางแดง, ทรงแด เป็นต้น

วงศ์               :  RHAMNACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ventilago denticulata Willd.

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร รางแดง จัดเป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่มเนื้อแข็ง มักเลื้อยตามต้นไม้และกิ่งไม้ เถาเป็นสีเทา เมื่อเถามีอายุมากผิวของลำต้นหรือเถาจะมีลักษณะเป็นรอยแตกระแหงตามยาวเป็นร่องสีแดงสลับ ทำให้เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลำต้นเมื่อยังอ่อนจะเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อแก่แล้วจะแตกเป็นสีแดง ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ ใบรางแดง แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบคล้ายกับใบเล็บมือนางหรือกะดังงาไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ส่วนก้านใบสั้น ดอกรางแดง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด เป็นดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเขียวแกมเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอมขาว ผลรางแดง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลมีรูปร่างกลม ด้านปลายผลแผ่เป็นครีบคล้ายปีกแข็ง ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำเถารางแดง 1 ขีด เหล้า 200 มิลลิเมตร และน้ำผึ้ง 200 มิลลิเมตร นำมาดองไว้ 15 วัน ใช้กินครั้งละ 30 มิลลิลิตร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ หรือให้นำเถาต้มกับน้ำดื่มช่วยลดคลอเลสเตอรอล ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบำรุงเส้นสาย แก้เส้น แก้อาการปวดเมื่อยที่ก้นกบ นำใบมาย่างไฟให้กรอบแล้วชงดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ หรือนำใบต้มกับน้ำดื่มรับประทาน ช่วยทำให้ชุ่มคอ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  วัดพระพุทธบาทเขาน้อยเจริญธรรม ม.13 บ้านใหม่เขาน้อย ต.แก่งโสภา        อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล คุณสุบิน  ปัญทา     อายุ 65 ปี ที่อยู่ 454 ม.13 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก