หนุมานนั่งแท่น

ชื่อสมุนไพร       : หนุมานนั่งแท่น

ชื่อพื้นเมือง       : หัวละมานนั่งแท่น, ว่านเลือด, ว่านหนุมาน, ว่านหนูมานนั่งแท่น เป็นต้น

วงศ์               :  EUPHORBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Jatropha podagrica Hook.

ชื่อสามัญ         :  Gout Plant, Guatemala Rhubarb, Fiddle-leaved Jatropha

ลักษณะของสมุนไพร หนุมานนั่งแท่น จัดเป็นไม้พุ่มสูงถึง 2.5 ม. ผิวเกลี้ยง ลำต้นพองที่โคน หูใบแตกแขนง ยาวถึง 5 มม. ใบ รูปไข่กว้าง ถึงรูป ไข่กลับ ก้านใบยาว 10-20 ซม. ติดแผ่นใบแบบก้นปิด ขอบใบเว้า 3-5 แฉก ดอกแยกเพศ ออกเป็นช่อกึ่งช่อเชิงหลั่น ยาวถึง 26 ซม. แกนช่อดอกยาวถึง 20 ซม. มีใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2 มม. ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง ยาว 0.6 มม. กลีบดอก รูปไข่กว้าง กว้าง 2 ยาว 5-6 มม. จานรองดอกรูปโถ เกสรเพศผู้ ยาว 6-8.5 มม. ก้านชูเกสรเชื่อมกันที่โคน ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงรูปรี ยาว 2 มม. กลีบดอกยาว 6-7 มม. ผล รูปรี มีลักษณะสามพู เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม. ปลายมน แตกทั้งแนวตั้งและแนวนอน เมล็ด รูปรี กว้าง 6 ยาว 1.2 มม.

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใช้น้ำยาง ทา รักษาแผลมีดบาด ห้ามเลือด ทารักษาฝี หัวหรือเหง้าใช้กินเป็นยาบำรุงพละกำลัง เป็นยาฟอกโลหิต หรือนำเหง้ามาโขลกให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกทาตามข้อมือข้อเท้า นวดแก้อาการเคล็ดขัดยอก

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน หมู่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นายพจน์   ชินปัญชนะ   อายุ 48 ปี

ตำแหน่ง หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน

ที่อยู่ สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก