หนุมานประสานกาย

ชื่อสมุนไพร : หนุมานประสานกาย
ชื่อพื้นเมือง : ว่านอ้อยช้าง
วงศ์ : ARALIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera leucantha R.Vig.
ชื่อสามัญ : Edible-stemed Vine
ลักษณะของสมุนไพร หนุมานประสานกาย จัดเป็นไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก
รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ยอดสดสัก 2-3 ยอด ล้างให้สะอาดเคี้ยวให้แหลกแล้วกลืนกินทั้งเนื้อและกาก ใช้แก้ไอในช่วงที่ยังไม่ไอมากนักมักได้ผลดี แก้เจ็บคอและร้อนในได้ด้วย ถ้าขมมากรู้สึกว่ากลืนไม่ไหวก็กลืนเอาแต่น้ำคายกากทิ้ง หรือเอายอดสดสัก 5-10 ช่อ ต้มกับน้ำ 2 แก้วให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร รักษาโรคหอบหืด หรือใช้ใบสด 10 ช่อตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าขาว ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้หอบหืด แก้อาเจียนเป็นเลือด
แหล่งที่พบจากการสำรวจ : หมู่ 5 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
ที่มาของข้อมูล
ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นายอักษณ มาอินทร์ อายุ 56 ปี
ที่อยู่ 446 ม.5 ต.แก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก