หูปลาช่อน

ชื่อสมุนไพร       : หูปลาช่อน

ชื่อพื้นเมือง       : ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักบั้ง (ลำปาง), ผักแดง (เลย), หางปลาช่อน (เพชรบุรี, ภาคกลาง)

วงศ์               :  วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Emilia sonchifolia (L.) DC. ex DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cacalia sonchifolia Hort ex L.)

ชื่อสามัญ         :  Cupid’s shaving brush, Emilia, Sow thistle

ลักษณะของสมุนไพร ต้นหูปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรง มีมีสีเขียวแกมม่วง ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านที่โคนต้น ลำต้นปกคลุมไปด้วยขนนุ่มทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้วัชพืชที่มักขึ้นตามที่ชื้น ทุ่งหญ้าโล่ง หรือขึ้นปะปนกับวัชพืชทั่วไป พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และจัดเป็นวัชพืชที่มีการกระจายพันธุ์ได้รวดเร็ว ใบหูปลาช่อน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะห่อหุ้มลำต้นอยู่ ปลายใบแหลมเรียว โคนใบกว้างเป็นรูปไข่ ส่วนขอบใบโค้งหยักเล็กน้อยหรือหยักเว้า มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีม่วงแดง ใบที่โคนต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่บนยอด ใบบนเป็นรูปหอกโคนเว้าขอบจักแคบ ไม่มีก้านใบ ผลหูปลาช่อน ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร เปลือกผลแข็งมีจรสีขาวปกคลุมที่เส้นสันผิวเปลือก ผลแห้งจะไม่แตกหรืออ้าออก เมล็ดล่อน สีน้ำตาล และมีขน

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือลาบได้ ทั้งต้นมีรสขมฝาด เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดตับและลำไส้เล็ก ใช้เป็นยารักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ (ทั้งต้น)รากใช้เป็นยาแก้โรคตานซางขโมยในเด็ก ด้วยการใช้รากสดประมาณ 10 กรัม นำมานึ่งกับเนื้อหมูแดงให้เด็กกิน (ราก) ทั้งต้นใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ ทำให้เลือดเย็น ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (ทั้งต้น)ช่วยแก้หืดไอ (ทั้งต้น)ช่วยแก้เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด (ทั้งต้น)

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายโกศล สมบัติคำ อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 221/1 หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก