เตย

ชื่อสมุนไพร       : เตย

ชื่อพื้นเมือง       : เตยหอม, ใบส้มม่า, ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอดี, ผักเก็งเค็ง เป็นต้น

วงศ์               :  PANDANACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Pandanus amaryllifolius Roxb.

ชื่อสามัญ         :  Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi

ลักษณะของสมุนไพร เตย จัดเป็นพุ่มยืนต้นขนาดเล็กลำต้นกลมเป็นข้อถี่ๆ โผล่พ้นดินเล็กน้อย มีรากค้ำจุนมากมายช่วยพยุงลำต้น โดยต้นสามารถแตกเป็นต้นใหม่ได้ ใบเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเรียวยาว ปลายใบแหลม แตกใบออกมาจากข้างลำต้นโดยแนบไปกับลำต้น ใบสีเขียวสด ผิวเรียบเป็นมัน สีใบด้านบนจะเข้มกว่าท้องใบเล็กน้อย มีส้นกลางใบมองเห็นได้ชัดเจน ผิวและขอบใบเรียบ กลิ่นหอม

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้ ใช้ต้น 1 ต้น หรือใช้รากครึ่งกำมือก็ได้ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย หรือนำใบสะอาดมาต้มน้ำดื่มช่วยดับพิษร้อนภายใน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ แก้อาการอ่อนเพลียของร่างกาย

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ 5 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายอักษณ  มาอินทร์         อายุ  56  ปี

ที่อยู่ 446 ม.5 ต.แก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก