เพชรสังฆาต

ชื่อสมุนไพร       : เพชรสังฆาต

ชื่อพื้นเมือง       : สันชะควด, ขั่นข้อ, สามร้อยต่อ เป็นต้น

วงศ์               :  VITACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Cissus quadrangularis L.

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร เพชรสังฆาต จัดเป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเพชรสังฆาต    ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกเพชรสังฆาต ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ที่ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ผลเพชรสังฆาต ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ ในผลมีเมล็ดกลมสีน้ำตาล 1 เมล็ด โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใช้เถาเพชรสังฆาตคั้นเอาน้ำมาดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ปรุงเป็นยาธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน หมู่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นายพจน์   ชินปัญชนะ   อายุ 48 ปี

ตำแหน่ง หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน ที่อยู่ สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก