เหงือกปลาหมอ

ชื่อสมุนไพร       : เหงือกปลาหมอ

ชื่อพื้นเมือง       : แก้มหมอ, แก้มหมอเล, อีเกร็ง, นางเกร็ง, จะเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน เป็นต้น

วงศ์               :  ACANTHACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Acanthus ebracteatus Vahl

ชื่อสามัญ         :  Sea holly, Thistleplike plant

ลักษณะของสมุนไพร เหงือกปลาหมอ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแข็ง       มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตรใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมีทั้งพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ ผลเป็นฝักสีน้ำตาล ลักษณะของฝักเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ข้างในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใช้ทั้งต้นเหงือกปลาหมอนำมาตำผสมกับพริกไทยในอัตราส่วน 2:1 แล้วคลุกเคล้าผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน ว่ากันว่าหากรับประทานติดต่อกัน 1 เดือน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้อายุยืน ร่างกายแข็งแรง เลือดลมไหลเวียนดี เส้นเลือดไม่อุดตัน บำรุงผิวพรรณ ต้นนำมาตำผสมเป็นน้ำดื่มช่วยรักษาวัณโรค ใบนำใช้คั้นนำน้ำที่ได้มาทาให้ทั่วศีรษะ จะช่วยบำรุงรากผม

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ 5 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายอักษณ  มาอินทร์         อายุ  56  ปี ที่อยู่ 446 ม.5 ต.แก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก