โคคลาน

ชื่อสมุนไพร       : โคคลาน

ชื่อพื้นเมือง       : แม่น้ำนอง, ว่านนางล้อม, จุ๊มร่วมพนม, เถาพนม, อมพนม, เถาวัลย์ทอง, เถาวัลย์ทองชักโครง, ลุ่มปรี, ขมิ้นเครือ, เถาขะโนม, ลุมปรี, หวายดิน, โคคลาน, วาร์ลำลงพนม เป็นต้น

วงศ์               :  MENISPERMACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Anamirta cocculus (L.) Wight & Arn.

ชื่อสามัญ         :  Cocculus, Cocculus indicus, Fishberry indian berry

ลักษณะของสมุนไพร โคคลาน จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 3-5 เมตร กิ่งอ่อน ยอดอ่อน และช่อดอกปกคลุมด้วยสะเก็ดสีน้ำตาลและขนหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปหัวใจไข่ ผิวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ขอบใบหยัก ปลายเรียวแหลม โคนเว้า สีเขียวสดดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาว 10-20 ซม. แต่ละช่อ ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาว ดอกตัวผู้จะมีจำนวนมากกว่าดอกตัวเมีย เกิดบริเวณตอนปลายของช่อดอก ดอกตัวเมียมีน้อย เกิดบริเวณโคนช่อดอก เวลามี ดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามแปลกตามาก “ผล” รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม.เปลือกผลแข็ง มีเส้นรอบผล 6 เส้น มีเมล็ด 3 เมล็ดดอกออกช่วงระหว่างเดือนมกราคม

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ โดยใช้เถา กับรากกะจำนวนพอประมาณเท่ากัน ต้มกับน้ำจนเดือดดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 1-2  เวลา ตอนไหน ก็ได้ เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เส้นตึง ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต ผลกินเป็นยากระตุ้นประสาท ส่วนกลาง แต่ไม่ควรกินแบบต่อเนื่อง เพราะอาจทำให้อาเจียน ท้องเสีย หรือถึงขั้นมีอาการชักได้ ส่วนเถา หรือต้นเพียงอย่างเดียว กะเพียงเล็กน้อยต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว จะเป็น ยาคลายเส้น แก้ปวดหลัง ปวดเอว อาการครั่นเนื้อครั่นตัวเหมือนจะเป็นไข้ แก้ไตพิการ แก้กษัย แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ และบำรุงโลหิต

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์ อายุ 46 ปี

ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก