โคคลาน

ชื่อสมุนไพร       : โคคลาน 

ชื่อพื้นเมือง       : แม่น้ำนอง, ว่านนางล้อม, จุ๊มร่วมพนม, เถาพนม, อมพนม, เถาวัลย์ทอง, เถาวัลย์ทองชักโครง, ลุ่มปรี, ขมิ้นเครือ, เถาขะโนม, ลุมปรี, หวายดิน เป็นต้น

วงศ์               :  MENISPERMACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Anamirta cocculus (L.) Wight & Arn.

ชื่อสามัญ         :  Cocculus, Cocculus indicus, Fishberry indian berry

ลักษณะของสมุนไพร โคคลานจัดเป็นพรรณไม้เถา เถามีลักษณะกลมและมีขนาดใหญ่เท่าขาของคน หรือมีขนาดใหญ่เท่ากับต้นหมาก มีเนื้อไม้แข็ง ส่วนเถานั้นจะยาวและเลื้อยพันขึ้นไปตามต้นไม้หรือเลื้อยไปตามพื้นดิน ส่วนเถาอ่อนหรือกิ่งของเถาอ่อนจะมีหนาม เปลือกเถาเรียบเป็นสีดำแดงคร่ำและจะแตกเป็นร่องระแหง และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยเป็นพรรณไม้ที่มักเกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่าหรือตามพื้นที่ราบใบโคคลาน ลักษณะของใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วหรือรูปหัวใจ โคนใบมนตัดหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักตื้นหรือเรียบ ส่วนแผ่นใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดยาวประมาณ 7-10 เซติเมตร ส่วนก้านใบมีความยาวประมาณ 2.4-7 เซนติเมตร ดอกโคคลาน ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ผลโคคลาน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก ผลเมื่อแก่เต็มที่จะเป็นสีแดง ส่วนเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวและมีรสขมมาก

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ผลและเมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้งเพื่อช่วยบำบัดโรคผิวหนัง เช่น อาการคันที่เกิดขึ้นตามคอและหนังศีรษะ แก่นหรือเนื้อไม้โคคลานใช้ต้มน้ำดื่มขณะอุ่นแบบเดี่ยว ๆ ช่วยบำรุงกำลัง เถา หรือต้นกับราก “โคคลาน” กะพอประมาณเท่ากันต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือดดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 1-2 ครั้งเวลาไหนก็ได้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เส้นตึง ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต ผลสดสุกกินเป็นยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์ อายุ 46 ปี

ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก