กระดูกไก่ด่าง

ชื่อสมุนไพร       : กระดูกไก่ด่าง

ชื่อพื้นเมือง       : หอมไก่ , หอมไก๋

วงศ์               :  (CHLORANTHACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Chloranthus erectus (Buch.-Ham.) Verdc..

ลักษณะของสมุนไพร ต้นกระดูกไก่ด่าง หรือ ต้นหอมไก๋ มีเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียเขตร้อน พบได้ทั่วไปตั้งแต่เนปาล ยูนนาน หมู่เกาะอันดามัน ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ลักษณะคล้ายกระดูกไก่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้ที่มักพบได้ทั่วไปตามบริเวณริมน้ำหรือดินที่ค่อนข้างแฉะชื้น และมักพบได้ทั่วไปในป่าที่ราบต่ำ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แต่จะพบได้มากที่สุดทางภาคเหนือ ทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นคล้ายกับการบูร มีรสค่อนข้างขม

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใบอ่อนสามารถนำมากินเป็นผักร่วมกับลาบได้ใช้ทำสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำใช้ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกบ่อย ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นผสมกับหัวยาข้าวเย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มต่างชาเป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง (ทั้งต้น) รากและใบใช้ชงเป็นชาดื่ม มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (รากและใบ) ส่วนชาวไทยภูเขาจะใช้กิ่งนำมาต้มเป็นยารักษามาลาเรีย (กิ่ง) รากและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ ด้วยการนำมาชงเป็นชาดื่ม (รากและใบ) รากและใบใช้ชงเป็นชาดื่มแก้กามโรค (รากและใบ) รากกระดูกไก่นำมาผสมกับรากหนาดคำ รากหนาด ฝนกินเป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ แก้ผิดเดือน ผิดสาบ (ราก) ลำต้นใช้เป็นยากระตุ้น ยาระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการนำลำต้นมาต้มกับเปลือกอบเชย (Cinnamomum) รับประทาน (ลำต้น)

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก