ข้าวเย็นเหนือ

ชื่อสมุนไพร       : ข้าวเย็นเหนือ

ชื่อพื้นเมือง       : ข้าวเย็นโคกแดง ค้อนกระแต หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นวอก ยาหัวข้อ (อุบลราชธานี), หัวยาข้าวเย็น หัวข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นวอก

วงศ์               :  วงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE) เช่นเดียวกับข้าวเย็นใต้

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Smilax corbularia Kunth[1] (และยังมีข้าวเย็นเหนืออีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax china L.)

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร ต้นข้าวเย็นเหนือ มักพบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใช้หัวฝังดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดีและมีอินทรียวัตถุ และเป็นไม้ที่เลี้ยงยากและหาดูได้ยาก โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน อาจเลื้อยได้ยาวถึง 5 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เถามีหนามแหลมโดยรอบกระจายอยู่ห่าง ๆ ที่โคนใบยอดอ่อนมีมือเป็นเส้น 2 เส้นไว้สำหรับจับยึด และมีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากแตกอยู่ใต้ดินมาก หัวมีลักษณะกลมยาวเป็นท่อน ๆ ท่อนละประมาณ 5-15 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 เซนติเมตร รากที่เจาะลึกลงใต้ดินจะมีความยาวสูงสุดเกือบ 1 เมตร เนื้อไม้แข็ง ผิวแดงและขรุขระ ส่วนเนื้อในเหง้าเป็นสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่เต็มที่จะเป็นสีแดงน้ำตาลอ่อน เนื้อละเอียด มีรสมัน (ถ้าเหง้าหรือหัวมีเนื้อสีขาวจะเรียกว่า “ข้าวเย็นใต้“)

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกได้ ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซียจะใช้เหง้าเป็นยาบำรุง (หัว) หัวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด (หัว)หัวตากแห้งนำมาหั่นผสมในตำรับยาบำรุงกำลัง (หัว)ใช้หัวในยาตำรับ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง ด้วยการบดยาหัวให้ละเอียดผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้งแล้วผสมกับน้ำผึ้งรับประทานวันละ 1 เม็ด (หัว)หัวข้าวเย็นทั้งสองมีกลไกลการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม (หัว)

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 13 บ้านตอเรือ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางปิ่น  มูลนาง      อายุ 70 ปี ที่อยู่ หมู่ที่ 13 บ้านตอเรือ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก