ชงโค

ชื่อสมุนไพร       : ชงโค

ชื่อพื้นเมือง       : ดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน

วงศ์               :  (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Bauhinia purpurea L.

ชื่อสามัญ         :  Orchid tree, Purple orchid tree, Butterfly tree, Purple bauhinia, Hong kong orchid tree

ลักษณะของสมุนไพร ชงโค เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้าย ๆ กับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก โดยเป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใบชงโคนำไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ) ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี (ดอก) ชงโคมีสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก, ราก) ช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น) ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น) ช่วยแก้บิด (ดอก, แก่น, เปลือกต้น) ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก) ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ) ใบชงโคใช้พอกฝีและแผลได้ (ใบ) มักปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม ให้กลิ่นหอมชื่นใจ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก