ดีปลาช่อน

ชื่อสมุนไพร       : ดีปลาช่อน

ชื่อพื้นเมือง       : ดีงูหว้า (ภาคเหนือ); คลุ้มเลียม, ว่านหัวเลียม, ว่านหัวฬา.

วงศ์               :  Taccaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Tacca chantrieri Andre

ชื่อสามัญ         : 

ลักษณะของสมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกทรงพุ่มขนาดเล็ก มีอายุอยู่แค่ปีเดียวลำต้น-มีลักษณะกลมตรง มีความสูงประมาณ 30-100 ซม. มีเปลือกลำต้นเป็นสีเทาใบ-มีลักษณะเป็นรูปทรงรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม มีขนาดความกว้างประมาณ 4-7 ซม. ยาวประมาณ 10-15 ซม. แผ่นใบมีสีเขียว ขอบใบเรียบ บนใบมีเส้นแขนงอยู่ประมาณ 5-7 คู่ มักออกเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกันบริเวณลำต้น ดอก-จะออกเป็นช่อที่บริเวณซอกใบหรือปลายยอดลดหลั่นกันลงมา ซึ่งในแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก กลีบดอกย่อยมีสีม่วงอมน้ำเงิน เมื่อบานปลายกลีบดอกจะแยกออกจากกัน มีจำนวน 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมีลักษณะพองออกคล้ายรูปคนโท ไม่มีก้านดอกย่อย มีกลีบเลี้ยงสีเขียวลักษณะคล้ายรูปถ้วยจำนวน 4 กลีบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผล-รูปทรงแบนคล้ายแคปซูล มีความยาวประมาณ 2.5-3.5 ซม. เมื่อผลแก่และแห้งจะแตกออก โดยมีเมล็ดอยู่ช่วงปลายผล ส่วนบนของเมล็ดจะมีก้านคล้ายตะขอติดอยู่ด้วย การขยายพันธุ์ ทำได้โดยการเพาะเมล็ด

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  ราก – ต้มน้ำดื่มแก้โรคความดัน แก้ไข้ แก้อาการหืดหอบลำต้น – ต้มน้ำดื่มเพื่อบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ ใบ – มีรสขม ใช้ปรุงอาหารประเภทยำ ลาบ ใช้รักษาโรคเบาหวาน ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกำลัง ดอก – ปรุงเป็นยาเพื่อใช้ขับลมในลำไส้ ทำให้เรอและผายลม

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 2 หมู่บ้านวังนกแอ่น ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางนงนุช  สอดจันทร์  อายุ 74 ปี ที่อยู่ 102 หมู่2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก