ต้นหว้า

ชื่อสมุนไพร       : ต้นหว้า

ชื่อพื้นเมือง       : ห้าขี้แพะ

วงศ์               MYRTACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Syzygium cumini

ชื่อสามัญ         : Black plum, Jambolan plum, Java plum , Black Poum

ลักษณะของสมุนไพร ลักษณะ ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อยเนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่มผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิดเมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปวัดพร้อมธูปเทียนเพื่อใช้บูชาพระ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีม่วงชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ใช้รากนำไปต้มกับน้ำและดื่มเพื่อชูกำลัง

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 1 หมู่บ้านวังดินสอ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูลชื่อ – สกุล  นายเฉลิม แก้วเกิด   อายุ 68 ปี

ที่อยู่ 161/1 หมู่ที่ 1 หมู่บ้านวังดินสอ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก