ผักหวานป่า

ชื่อสมุนไพร       : ผักหวานป่า

ชื่อพื้นเมือง       : ผักหวาน, ผักวาน เป็นต้น

วงศ์               :  OPILIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Melientha sauvis Pierrre

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร ผักหวานป่าจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-11 เมตร เปลือกต้นเรียบ กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้มีความแข็ง เป็นพืชผลัดใบตามฤดูกาล จึงเก็บสะสมอาหารไว้ที่รากและลำต้น นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มักจะพบต้นผักหวานป่าได้ตามป่าเบญจพรรณในที่ราบหรือเชิงเขาที่มีความสูงไม่เกิน 600 เมตรใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรียาว ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบสอบเรียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีเขียวเข้ม มีก้านใบยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรดอกเป็นช่อยาว ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยจะออกจากกิ่งหรือตามซอกใบ ใบประดับดอกเป็นรูปไข่ปลายแหลม ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนก้านดอกเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะมีกลีบสีเขียวอ่อน เกสรสีเหลือง ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบดอกเป็นสีเขียวเข้ม และก้านดอกจะสั้นกว่าดอกเพศผู้    โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมผลเป็นผลเดี่ยวอยู่บนช่อยาวที่เป็นช่อดอกเดิม ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.3-3 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มหรือสีแดง ส่วนก้านผลจะยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใบสดหรือประกอบอาหารมีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการปวดท้อง ใช้แก่นของต้นผักหวาน นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อหรือปานดง รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดมดลูกของสตรี แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว ยางใช้กวาดคอเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายโกศล สมบัติคำ อายุ 58 ปี

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 221/1 หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก