พลู

ชื่อสมุนไพร       : พลู

ชื่อพื้นเมือง       : พลู (ภาคกลาง) ; ซีเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส)

วงศ์               : PIPERACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Piper bette L.

ชื่อสามัญ         :  Betel peppe

ลักษณะของสมุนไพร ไม้เถา (C) เลื้อยยาว ลักษณะของลำต้นอวบน้ำ มีร่องเล็ก ๆ สีน้ำตาลยาวขนานไปตลอดลำต้น สันร่องมีสีเขียว มีข้อและปล้องชัดเจน มีรากออกรอบข้อไว้ยึดเกาะ ทุกส่วนมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดกับลำต้นแบบสลับ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ผิวแผ่นใบมันและมีสีเข้มกว่าผิวท้องใบ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนจะเป็นสีเขียวและใบแก่สีจะเข้มขึ้น และมีกลิ่นฉุน ใบกว้าง 3-10 ซม. และยาวประมาณ 4-12 ซม ดอก ออกเป็นกลุ่มเรียงอยู่บนก้านช่อดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละดอกผล ลักษณะผลรูปกลม อัดแน่นเป็นช่อ เนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีแดง

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใบ รสเผ็ดเมา แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า ใช้ภายนอกแก้ปวดบวมฟกช้ำ ฆ่าเชื้อโรค แก้การอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้น้ำกัดเท้า แก้คัน แก้ลมพิษ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายโกศล สมบัติคำ อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 221/1 หมู่ที่ 10 บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก