มะขามป้อม

ชื่อสมุนไพร       : มะขามป้อม

ชื่อพื้นเมือง       : มะขามป้อม (ทุกภาค) หมากขามป้อม (อีสาน) กันโตด (เขมร – จันทบุรี) กาทวด (ราชบุรี) มั่งลู่ และสันยาส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

วงศ์               : Phyllanthus L.

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Phyllanthus emblica Linn. 

ชื่อสามัญ         : Indian gooseberry

ลักษณะของสมุนไพร  มะขามป้อม ลักษณะต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-12 เมตร ลำต้นมีลักษณะคดงอ ไม่ตรง เปลือกนอกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา ส่วนเปลือกในเป็นสีชมพูสด  ใบเป็นช่อ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียวอ่อน เรียงชิดติดกันบนก้านใบ  มีดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อนเล็ก ๆ รวมอยู่บนกิ่งเดียวกัน โดยจะออกดอกประมาณเดือนกันยายน มีผลกลม เนื้อหนา สีเขียว ถ้าเป็นผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน ถ้าเป็นผลแก่จะมีสีเขียวอมเหลือง ค่อนข้างใส ออกน้ำตาลนิด ๆ สามารถกินได้ มีรสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน โดยจะออกผลประมาณเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ มะขามป้อมนำมารับประทานสด ให้รสเปรี้ยวอมฝาดและรสจัดมาก จึงต้องจิ้มเกลือจึงจะดีผลมะขามป้อมนำมาแปรูปเป็นมะขามป้อมดองและมะขามป้อมแช่อิ่ม เป็นต้น ผล และใบใช้ผสมในตำรับยาสมุนไพรหรือรับประทานเพื่อประโยชน์ในด้านสมุนไพร ลำต้นขนาดเล็ด และกิ่งนำมาทำโครงดักจับปลา เช่น สวิง เพราะเนื้อไม้เหนียว สามารถโค้งงอได้ง่าย เปลือก และใบ ใช้ต้มย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลแกมเหลือง และหากผสมเกลือจะให้สีน้ำตาลอมดำ และหากย้อมเสื่อด้วยเปลือกจะได้สีดำ ลำต้น และกิ่งนำมาทำฟืน ต้นมะขามป้อมตามป่าหรือตามหัวไร่ปลายนา จัดเป็นอาหารสำหรับสัตว์ป่า ชาวฮินดูนิยมใช้ใบมะขามป้อมสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก