รางจืด

ชื่อสมุนไพร       : รางจืด

ชื่อพื้นเมือง       : ว่านรางจืด, รางเย็น, คาย, ดุเหว่า, ทิดพุด, ย่ำแย้, แอดแอ, น้ำนอง, กำลังช้างเผือก, ยาเขียว, เครือเขาเขียว, ขอบชะนาง เป็นต้น

วงศ์               :  ACANTHACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Thunbergia laurifolia Lindl.

ชื่อสามัญ         :  Laurel clockvine, Blue trumphet vine

ลักษณะของสมุนไพร รางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้มใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอกออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกมีสีม่วงอมฟ้า มีใบประดับสีเขียวประแดง มีกลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกเป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด และมักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ภายในหลอด กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ผลลักษณะเป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  ใบรางจืดสามารถนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ หรือนำมาทำแคปซูล จะช่วยในการถอนพิษจากยาเบื่อชนิดต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้พิษจากแอลกอฮอล์ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวานและความดัน ต่อต้านมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระสูง หรือนำใบมาตำพอแหลกใช้เป็นยาพอกบาดแผล

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก