ลิ้นมังกร

ชื่อสมุนไพร       : ลิ้นมังกร

ชื่อพื้นเมือง       : เหล่งหลี่เฮียะ เหล่งจิเฮี้ย (จีน-แต้จิ๋ว)

วงศ์               : วงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Sauropus spatulifolius Beille (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Sauropus changianus S.Y.Hu)

ชื่อสามัญ         :  Dragon’s Tongue

ลักษณะของสมุนไพร ต้นลิ้นมังกร จัดเป็นไม้กลางแจ้งยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 ฟุต ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง คองอเล็กน้อย และมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินชุ่มชื้นระบายน้ำดี เช่น ดินปนทรายหรือดินร่วนปนทราย ใบลิ้นมังกร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบสอบแหลมเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มลาย ตามเส้นใบและท้องใบเป็นสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน เส้นโคนใบมีขน ดอกลิ้นมังกร ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบและลำต้น ซึ่งดอกจะเรียงติดกันเป็นแถวสั้น ๆ คล้ายช่อดอก แต่จะแยกออกเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกมีขนาดเล็กมีสีแดงม่วงหรือสีม่วงเข้ม ดอกหนึ่งมี 6 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปกลมรีมีเนื้อหนา ดอกมีเกสรเพศผู้ 3 อัน และเกสรเพศเมีย 3 อัน ผลลิ้นมังกร ลักษณะของผลคล้ายกับเม็ดถั่ว มีก้านสั้น ๆ ผลจะถูกกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวหุ้มเอาไว้

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  บมีรสจืด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอด ใช้เป็นยาแก้ปอดร้อน ช่วยทำให้ปอดชุ่มชื่น (ใบ) ดอกสดนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อักกระอักเลือด และไอเป็นเลือด หรือจะใช้ใบสด 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือผสมกับสันเนื้อหมูต้มกับน้ำแกงรับประทานก็ได้ (ใบ,ดอก) ช่วยแก้อาการไอมีเสลดเหนียว หรือไอแห้ง ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 7-8 ใบ และผลอินทผลัม 7 ผล นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ประมาณ 15 กรัม นำมาต้มผสมกับเนื้อหมูแล้วทานแต่น้ำ  ใบมีรสสุขม สรรพคุณเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอแห้ง ไอร้อน ไอหอบหืด ไอเป็นเลือด แก้เสียงแหบแห้ง ไม่มีเสียง ให้ใช้ใบสดประมาณ 7-8 กรัม หรือใบแห้งประมาณ 10-30 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ใบ) ช่วยขับเสมหะ (ใบ) ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ หอบหืด หรือโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ให้ใช้ใบสดประมาณ 7-8 ใบ หรือใบแห้งประมาณ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ) ช่วยบำรุงปอด ด้วยใช้ใบสดประมาณ 7-8 กรัม หรือใบแห้งประมาณ 10-30 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ใบ)

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 19 หมู่บ้านวังกระบาก ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา อ่อนเปลีย         อายุ 58 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 399 หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก