เขยตาย

ชื่อสมุนไพร       : เขยตาย

ชื่อพื้นเมือง       : ส้มชื่น, ศรีชมชื่น, น้ำข้าวต้น, พิษนาคราช, พุทธรักษา, ประยงค์ใหญ่, กระรอกน้ำ, กระรอกน้ำข้าว, มันหมู, เขนทะ, ส้มชื่น, ส้มชื่น, กระโรกน้ำข้าว, เขยตายแม่ยายชักลาก, ลูกเขยตาย, น้ำข้าว, เขยตายแม่ยายชักปรก, ลูกเขยตาย, ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ, ต้มชมชื่น, น้ำข้าว, โรคน้ำเข้า, หญ้ายาง, ชมชื่น, เขยตายแม่ยายปรก, ตาระเป เป็นต้น

วงศ์               :  RUTACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร เขยตายจัดเป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 1-5 ใบ รูปวงรีแกมขอบ ขนานรูปไข่กลับ ดอกช่อออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผล รูปทรงกลมขนาดปลายนิ้วก้อย เมื่อสุกสีชมพูเรื่อๆ รสหวาน

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ รากฝนน้ำกินและทาแก้พิษงู แก้พิษแมลงกัดต่อย ทาแผลที่อักเสบ     แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด น้ำคั้นจาก ใบ ผสมน้ำตาล กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ แก้โรคตับ ใบบดผสมกับขิง รักษาผิวหนังอักเสบ ตุ่มพุพอง หรือคันแสบ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน หมู่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง        จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นายพจน์   ชินปัญชนะ   อายุ 48 ปี

ตำแหน่ง หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน ที่อยู่ สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก