แปะตำปึง

ชื่อสมุนไพร       : แปะตำปึง

ชื่อพื้นเมือง       : จักรนารายณ์, แป๊ะตำปึง, แปะตังปึง, แป๊ะตังปึง, แปะตังปุง ,ผักพันปี, กิมกอยมอเช่า, จินฉี่เหมาเยี่ย, ว่านกอบ, ใบเบก เป็นต้น

วงศ์               :  ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Gynura divaricata (L.) DC.

ชื่อสามัญ         :  Purple passion vine, Purple velvel plant

ลักษณะของสมุนไพร แปะตำปึง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอยใบจะอยู่กับลำต้นที่แทงขึ้นจากราก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มน ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยัก ใบมีความยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและนุ่มคล้ายกำมะหยี่ หลังใบเป็นสีเขียวส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีม่วงแดงหรือสีขาวออกหม่น ๆ มีก้านใบสั้น ดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอดลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกหลายดอก กลีบดอกมีลักษณะเป็นเส้นฝอยกลมจำนวนมาก มีสีเหลืองสดคล้ายดอกดาวเรือง แต่จะมีขนาดเล็กกว่าดอกดาวเรือง และมีสีเหลือง โดยยาวได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้านอยู่ในกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียเป็นเส้นยืดออกมาภายนอกและมีผลติดอยู่ในดอก ผลสุกเป็นสีน้ำตาล

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  ใบสดๆ ล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง นำมาเคี้ยวกินสดๆ หรือใช้ประกอบอาหารกิน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ความดันสูงภูมิแพ้ หอบหืด มะเร็ง งูสวัด เกาต์ ริดสีดวงทวารหนัก ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผลอักเสบพุพอง ฝีหนอง ปวดประจำเดือน ปวดเส้น ปวดหลัง ไขมันในเลือด ไทรอยด์ ตาอักเสบตาเป็นต้อ โรคตาต่าง ๆ ปวดเหงือก ปวดฟัน โรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โลหิตจาง ฟอกเลือด ล้างสารพิษในร่างกาย ขับลม กินได้ นอนหลับ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน หมู่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นายพจน์   ชินปัญชนะ   อายุ 48 ปี  ตำแหน่ง หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน ที่อยู่ สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก