หมากแหน่ง

ชื่อสมุนไพร       : หมากแหน่ง

ชื่อพื้นเมือง       : เร่ว, หน่อเนง, มะอี้, หมากอี้, มะหมากอี้, หมากเนิง, เร่วใหญ่ เป็นต้น

วงศ์               :  ZINGIBERACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Amomum villosum var. xanthioides (Wall. ex Baker) T.L.Wu & S.J.Chen

ชื่อสามัญ         :  Bustard cardamom, Tavoy cardamom

ลักษณะของสมุนไพร หมากแหน่ง จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดินมีกลิ่นคล้ายเร่ว ลำต้นเทียมเจริญอยู่เหนือผิวดิน สูงประมาณ 1 เมตรใบเดี่ยว รูปหอกยาว (lanceolate to linear) ยาว 20–35 เซนติเมตรกว้าง 3–7 เซนติเมตรผิวเกลี้ยง ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบมน ก้านใบสั้น เรียงสลับ ดอกเป็นช่อดอก มีก้านชูช่อดอกแทงออกจากเหง้าใต้ดิน (scapose) ดอกสีขาว ผลเป็นผลแห้งแก่แล้วแตก (dehiscent capsule) เมื่อโตเต็มที่มีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รูปหลายเหลี่ยม มีสีน้ำตาล เกาะติดกันเป็นก้อนและมีกลิ่นหอม

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำผลเร่วแห้งหนักประมาณ 7-8 กรัม ย่างไฟจนแห้งกรอบแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มบ่อย ๆ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ใช้เมล็ดจากผลแก่นำมาบดให้เป็นผง แล้วใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ 5 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายอักษณ  มาอินทร์         อายุ  56  ปี

ที่อยู่ 446 ม.5 ต.แก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก