ผักโขมแดง

ชื่อสมุนไพร       : ผักโขมแดง

ชื่อพื้นเมือง       : ผักขมสวน, ผักขมสี, ผักโขมสี, ผักขมขาว, ผักโขมขาว, ผักขมจีน, ผักโขมหนาม, ผักโหมหนาม, ผักขมใบใหญ่, ผักโขมใบใหญ่, ผักโหมป๊าง, ผักโหมป๊าว, ผักหมพร้าว, ผักขมเกี้ยว, เงาะถอดรูป เป็นต้น

วงศ์                  :  AMARANTHACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Aerva sanguinolenta (L.) Blume

ชื่อสามัญ         :  Joseph’s coat, Chinese spinach, Tampala

ลักษณะของสมุนไพร ผักโขมแดง จัดเป็นไม้พุ่ม ความสูง 25 – 40 เซนติเมตร ใบเดี่ยวรูปไข่ถึงรูปคล้ายสามเหลี่ยม กว้าง 2 – 3 เซนติเมตรยาว 2 – 5 เซนติเมตร สีม่วงแดงเข้ม ปลายใบแหลม โคนใบมนถึงสอบ ขอบใบเรียบ มีขนสั้นนุ่มสีขาวปกคลุม ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยเป็นกระจุกติดกับก้านช่อดอกดอกย่อยเล็กสีขาวขุ่น

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทาน ช่วยบำรุงและรักษาสายตา แก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยระบบขับถ่าย และลดความเสี่ยง การเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ 5 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายอักษณ  มาอินทร์         อายุ  56  ปี ที่อยู่ 446 ม.5 ต.แก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก