ผักเสี้ยนผี

ชื่อสมุนไพร       : ผักเสี้ยนผี

ชื่อพื้นเมือง       : ผักส้มผี, ส้มเสี้ยนผี, ผักเสี้ยนตัวเมีย, ไปนิพพานไม่รู้กลับ เป็นต้น

วงศ์               :  CLEOMACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Cleome viscosa L.

ชื่อสามัญ         :  Asian spider flower, Tickweed[1], Polanisia vicosa[2], Wild spider flower[4], Stining cleome, Wild caia tickweed

ลักษณะของสมุนไพร ผักเสี้ยนผี จัดเป็นพืชล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว สูง 60 – 80 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนอ่อนปกคลุม ใบประกอบแบบนิ้วมือออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 – 5 ใบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอกสีเหลือง 4 กลีบ ผลเป็นฝักกลมเรียวยาวโค้ง

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำทั้งต้นต้มน้ำดื่ม ช่วยขับหนองในในร่างกาย ทำให้หนองแห้ง แก้ฝีในปอด ลำไส้ ตับ ขับพยาธิในลำไส้ แก้โรคไขข้ออักเสบ หยอดแก้หูอักเสบ ใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกแก้อาการปวดศีรษะ ใบผักเสี้ยนผีประมาณ 3-4 ใบนำมาขยี้พอช้ำ แล้วใช้อุดที่หูแก้อาการลมขึ้นหูหรืออาการหูอื้อ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ 5 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นายอักษณ  มาอินทร์         อายุ  56  ปี ที่อยู่ 446 ม.5 ต.แก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก