ไพล

ชื่อสมุนไพร       : ไพล

ชื่อพื้นเมือง          : ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น

วงศ์               :  Zingiberaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Zingiber cassumunar Roxb.

ชื่อสามัญ         :  Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root 

ลักษณะของสมุนไพร ไพล เป็นสมุนไพรไทยที่มีชื่อท้องถิ่นหลากหลาย เช่น ว่านไพล, ไพลเหลือง, สีไพล, ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ (ภาคกลาง), ว่านปอบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ไพล จัดเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในมีสีเหลืองแกมเขียว ซึ่งส่วนนี้จะมีกลิ่นเฉพาะตัว หากเป็นเหง้าสดจะฉ่ำน้ำ มีรสฝาด ขื่น เอียน ร้อนซ่า แต่หากเป็นเหง้าแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ตัวเหง้าจะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ มีกาบหรือโคนใบสีเขียวเข้มหุ้นซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้ารูปหัวใจ ใบประดับสีม่วง ดอกเป็นรูปไข่หรือยาวรี ดูคล้ายกระสวย แทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ เป็นสมุนไพรที่อยู่คู่ครัวเรือนไทย โดยตามตำรายาไทยสามารถนำส่วนต่างๆ ของไพลมาใช้เป็นยาได้แทบทั้งนั้น เช่น เหง้า จัดว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์มากที่สุดของไพล เพราะสามารถนำมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งนำมาเป็นส่วนประกอบของลูกประคบ หรือนำมาฝนเพื่อใช้สมานแผล แก้ฟกช้ำ ปวด บวม เหน็บชา เส้นตึง ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง ทาบรรเทาอาการผื่นคันจากการแพ้ โรคผิวหนัง แก้ฝี ดูดหนอง เป็นยากันเล็บถอด

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก