ย่านางแดง

ชื่อสมุนไพร       : ย่านางแดง

ชื่อพื้นเมือง       : สยาน, หญ้านางแดง, เครือขยัน, เถาขยัน เป็นต้น

วงศ์               :  CAESALPINIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Bauhinia strychnifolia Craib.

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร ย่านางแดงจัดเป็นไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข็ง สามารถเลื้อยได้ไกลประมาณ 4-10 เมตร เถาเป็นสีน้ำตาลดำพาดพันต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาว รูปกลมรีปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวสดและเป็นมัน ยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอก ออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ลักษณะดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานและห้อยลงเหมือนกับดอกประทัดจีน ช่อดอกยาวประมาณ 100 ซม. ดอกยาวประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีแดงมีด้วยกัน 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เวลามีดอกจะดูสวยงามยิ่ง “ผล” เป็นฝักยาวรูปแบน ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ดหลายเมล็ดดอกและผลทั้งปี 

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำหัวหรือเหง้าสด ของ “หญ้านางแดง” ฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำซาวข้าวหรือนำไปต้มดื่มบ่อยๆ ทั้งวันจะเป็นยาสมุนไพร มีสรรพคุณเป็นยากระทุ้งพิษไข้ พิษเบื่อเมาและโดนยาสั่ง ขับพิษโลหิตเสีย น้ำเหลือง แก้ท้องผูก

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน หมู่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นายพจน์   ชินปัญชนะ   อายุ 48 ปี

ตำแหน่ง หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน

ที่อยู่ สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก