แคแดง

ชื่อสมุนไพร       : แคแดง

ชื่อพื้นเมือง       : แคบ้าน (ภาคกลาง)

วงศ์               : Leguminosae

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Sesbania grandiflora (L.) Desv.

ชื่อสามัญ         : Sesban หรือ Agasta

ลักษณะของสมุนไพร แคมีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะมอริเชียสซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของอินเดีย และภาคเหนือของทวีปออสเตรเลีย และนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วต้นแคต้นที่ออกดอกสีแดง จะเรียกว่า “แคแดง” และต้นที่ออกดอกสีขาว จะเรียก “แคขาว”แคเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นสีน้ำตาล มักแตกตามยาวเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 10-20 คู่ ดอกออกตรงซอกใบเป็นช่อสั้นๆ และห้อยลงมา ดอกมีสีขาวหรือแดง ขนาดใหญ่ ลักษณะเหมือนดอกถั่ว ผลออกเป็นฝักกลมเรียวไปหาปลาย ยาวประมาณ 30 ซม. และเมื่อฝักแก่จัดก็จะแตกออกเป็น 2 ซีดอกและยอดอ่อนของแคสามารถนำมารับประทานได้ แต่ส่วนใหญ่มักนิยมกินชนิดดอกขาว สาเหตุที่ไม่นิยมกินชนิดดอกแดงเนื่องจากมีรสขมกว่าดอกขาว ในดอกแคมีโปรตีนอยู่ประมาณร้อยละ 1.2 และมักใช้ใบมาทำเป็นอาหารสัตว์

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  เปลือกต้นจะมีรสฝาดจัด ใช้ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยากินแก้ท้องร่วง ปวดมวน แก้บิด หรือใช้น้ำต้มเปลือกใช้ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด ล้างแผล เป็นยาสมานแผล ส่วนใบนำมาใช้เป็นยาแก้ไข้เปลี่ยนฤดู

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี

ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก