ขาไก่ดำ

ชื่อสมุนไพร       : ขาไก่ดำ

ชื่อพื้นเมือง       : กระดูกดำ (จันทบุรี), ปองดำ แสนทะแมน (ตราด), เฉียงพร้า (สุราษฎรณ์ธานี), กุลาดำ บัวลาดำ (ภาคเหนือ), เกียงพา เกียงผา เฉียงพร้าบ้าน เฉียงพร้าม่าน เฉียงพร้ามอญ เฉียงพร่าม่าน ผีมอญ สันพร้ามอญ สำมะงาจีน (ภาคกลาง), โอกุด๊ดอื้งติ้น (จีน), ปั๋วกู่ตาน อูกู่หวางเถิง (จีนกลาง) เป็นต้น

วงศ์               : เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Justicia gendarussa Burm.f.

ชื่อสามัญ         :

ลักษณะของสมุนไพร  จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 90-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสีแดงเข้มถึงสีดำหรือเป็นสีม่วง เกลี้ยงมัน ลักษณะของลำต้นและกิ่งเป็นปล้องข้อ ดูคล้ายกับกระดูกไก่ โดยมีขนาดข้อของลำต้นยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว ส่วนข้อของปล้องกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ตามลำต้น กิ่งก้าน และใบมีสีแดงเรื่อ ๆ ต้นกระดูกดำเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักขึ้นเองตามริมลำธารในป่าดงดิบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเงาเป็นสีเขียวเข้ม หน้าใบเป็นสีเขียวสด ส่วนหลังใบเป็นสีเหลืองอมสีเขียว มีเส้นกลางใบเป็นสีแดงอมดำ ส่วนก้านใบสั้น

รูปภาพ

       

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยมักนำมาปลูกไว้ตามบ้านหรือใช้ทำรั้ว หากไก่ขาหัก นักเลงไก่ชนจะใช้ใบกระดูกดำนำมาประคบหรือห่อหุ้มไว้ตรงที่ขาไก่หัก ส่วนหมอยาพื้นบ้านก็เช่นกัน หากใครแขนหรือขาแตกหักก็จะใช้ทำลักษณะเดียวกัน

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก