มะแว้ง

ชื่อสมุนไพร       : มะแว้ง

ชื่อพื้นเมือง       : แขว้งเคีย (ตาก), มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ), มะแว้ง มะแว้งเถาเครือ (ทั่วไป) เป็นต้น

วงศ์               : มะเขือ (SOLANACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Solanum trilobatum L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

ชื่อสามัญ         :  Brinjal

ลักษณะของสมุนไพร  :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 1 -1.5 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กและกลม เนื้อแข็ง เป็นสีเขียวอมเทา แตกกิ่งก้าน ทั้งต้นมีขนนุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม และมีหนามแหลมขึ้นกระจายอยู่ทั่วต้น ส่วนเปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำมากและความชื้นในปริมาณปานกลาง สามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติในบริเวณที่ราบ ชายป่าที่โล่งแจ้งและที่รกร้างริมทาง สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศและคาดว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชียลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียว ท้องใบสีเทา ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ ดอกย่อยมีกลีบรอง กลีบดอกโคนกลีบติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม ในผล จะพบได้ในส่วน ผล ใบ และต้น

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ  การบริโภคมะแว้งในรูปแบบอาหารอาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนการบริโภคมะแว้งเพื่อหวังสรรพคุณทางยานั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้แนะนำวิธีการบริโภคมะแว้ง ดังนี้ วิธีที่ 1 นำผลของมะแว้งเครือ หรือมะแว้งต้นแบบผลสดจำนวน 5-6 ผลมาล้างให้สะอาด ก่อนนำมาเคี้ยวและกลืนเข้าไปเฉพาะน้ำของมะแว้ง โดยอาจเคี้ยวจนหมดรสขมก่อนแล้วจึงคายทิ้ง วิธีที่ 2 นำผลของมะแว้งเครือ หรือมะแว้งต้นแบบผลสดจำนวน 5-10 ผล มาโขลกให้พอแตก คั้นเอาแต่น้ำมาปรุงรสด้วยเกลือเพียงเล็กน้อย ก่อนนำมาจิบบ่อย ๆ เมื่อมีอาการไอ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก