ฝิ่นต้น

ชื่อสมุนไพร       : ฝิ่นต้น

ชื่อพื้นเมือง       : มะหุ่งแดง, มะละกอฝรั่ง, ทิงเจอร์ต้น, ว่านนพเก้า เป็นต้น

วงศ์               :  EUPHORBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Jatropha multifida L.

ชื่อสามัญ         :  Coral bush, Coral plant, Physic Nut

ลักษณะของสมุนไพร ไม้พุ่มกึ่งไม่ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 6 เมตร ลำต้นเป็นแกนแข็ง ตั้งตรง ไม่มีขน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบบันไดเวียน ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉก ๆ แบบนิ้วมือ 9-11 แฉก แต่ละแฉกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักแบบขนนก ด้านล่างสีขาวนวล ก้านใบยาว โคนก้านใบมีหูใบซึ่งแตกแขนงเป็นเส้นๆ ดอก ดอกสีแดง ออกเป็นช่อที่ยอด ก้านช่อยาว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ ปลายมน กลีบดอก 5 กลีบ รูปซ้อน เกลี้ยง ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ ผลลักษณะรูปไข่กลับ หรือกลมคล้ายลูกทับทิมอ่อน เมื่อแก่กรีดให้น้ำยางออกมา

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ราก รสเฝื่อน เผาไฟแล้วรับประทานได้ ต้มเอาน้ำดื่มช่วยย่อยอาหารและแก้โรคลำไส้ ใบนำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย สระผมแก้เหา และพยาธิผิวหนัง ยางต้นรักษาแผลอักเสบเรื้อรัง

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน หมู่ 2 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นายพจน์   ชินปัญชนะ   อายุ 48 ปี

ตำแหน่ง หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน ที่อยู่ สวนพฤกษศาสตร์สกุโณทยาน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก