ผักเบี้ยใหญ่

ชื่อสมุนไพร       : ผักเบี้ยใหญ่

ชื่อพื้นเมือง       : ผักเบี้ยดอกเหลือง, ผักตาโค้ง,ผักอีหลู, ตะก้ง, แดงสวรรค์ 

วงศ์               : PORTULACACEAE ถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับคุณนายตื่นสาย

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Portulaca oleracea  Linn.

ชื่อสามัญ         : โพสเลน (Purslane) 

ลักษณะของสมุนไพร  ผักเบี้ยใหญ่ เป็นพืชล้มลุกลำต้นเตี้ย อวบน้ำ เลื้อยทอดไปตามดิน มีสีเขียวหรือม่วงแดง ปลายตั้งชูขึ้นแผ่เป็นผืนใหญ่สูงราว ๆ 5-10 เซนติเมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกลาง มีลักษณะรูปไข่กลับ หรือคล้ายลิ้น ปลายมน โคนเรียวเล็ก ใบหนาเป็นมัน สีเขียว มีทั้งดอกเดี่ยว หรืออาจออกเป็นช่อแต่ไม่มีก้านดอก ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองสดก้านสั้น มีขนหรือเยื่อบาง ๆ รอบที่โคนดอก ผลมีลักษณะกลมรี เมื่อสุกจะมีสีเหลืองเข้ม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล   เมล็ด : มีลักษณะกลมหรือรูปไตสีดำเป็นเงา มีจำนวนมาก  ทั้งนี้ ผักเบี้ยใหญ่ขึ้นง่ายตามธรรมชาติ มักพบตามซอกหินซอกกำแพง พื้นดิน

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำผักเบี้ยใหญ่ส่วนเหนือดิน (สด) 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด โขลกคั้นเอาน้ำ กรองเอากากทิ้ง ผสมน้ำผึ้งลงไป 1 ช้อนโต๊ะ จิบกินแก้หวัด ระงับอาการไอ  นอกจากนี้ ผักเบี้ยใหญ่ ยังช่วยแก้ร้อนใน แก้ตัวร้อน แก้ไข้ในเด็ก รักษาโรคภูมิแพ้ บำรุงไขข้อ ทำให้ดวงตาไม่แห้ง แก้บิด ลำไส้อักเสบ แก้ท้องร่วง อีกทั้งมีสิทธิบัตรในการต้านโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเตานม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ ขณะที่ในต่างประเทศก็ยังนำผักเบี้ยใหญ่ไปใช้ในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ เช่นกัน

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางธัญญาพร  สุขถิ่น          อายุ  43  ปี ที่อยู่  หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก