ตำลึงทอง

ชื่อสมุนไพร       : ตำลึงทอง

ชื่อพื้นเมือง       : ผักขี้หิด, รุ้งนก, เงาะป่า, เถาเงาะ, เถาสิงโต, ยันฮ้าง, เยี่ยววัว, ผักบ่วง, หญ้าถลกบาต,  เครือขนตาช้าง, รกช้าง, หญ้ารกช้าง, ผักแคบฝรั่ง, รก, กระโปรงทอง, ละพุบาบี, ผักแคบฝรั่ง, รังนก, กะทกรกป่า เป็นต้น

วงศ์               :  PASSIFLORACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Passifloro foetida L.

ชื่อสามัญ         :  –

ลักษณะของสมุนไพร ตำลึงทองจัดเป็นไม้เลื้อย เรือนยอดรูปไข่ มีความสูง 0.60 เมตร ความกว้าง 6 เมตร อาศัยอยู่บนบก ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองไม่ได้ใช้มือเกาะ เปลือกลำต้นสีเขียว ลักษณะเรียบ ไม่มียาง ชนิดของใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวแก่ ขนาดแผ่นใบกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 7 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของใบมีขนเล็กๆสีขาว การเรียงตัวของใบบนกิ่งแบบสลับ รูปร่างแผ่นใบ รูปเงี่ยงใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปเงี่ยงใบหอก ขอบใบมีขนครุย ชนิดของดอกเป็นดอกเดี่ยวตำแหน่งที่ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีเขียว กลีบดอก โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว รูปกงล้อ เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน สีเหลือง ลักษณะเป็นวงรีปลายเป็นกระเปาะ เกสรเพศเมียจำนวน 3 อัน สีเขียว ลักษณะเป็นรยางค์เส้นยาว ๆ รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ มีกลิ่นเหม็นเขียว ชนิดของผลเป็นผลกลุ่ม ผลสดเป็นแบบแตง สีของผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลืองหรือส้ม รูปร่างผลเป็นวงกลม เมล็ดมีจำนวน 44 เมล็ด สีของเมล็ดสีดำ รูปร่างของเมล็ดเป็นวงรี

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ยอดอ่อนใช้เป็นผักจิ้มได้ ผลสุก ทานเป็นผลไม้ได้ ตำลึงทองเป็นยาระบาย ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก นำเถาตำลงต้มกับน้ำ เพื่อดื่มแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หรือนำมาหยอดตาแก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบใน

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์ อายุ 46 ปี ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก