เท้ายายม่อม

ชื่อสมุนไพร       : เท้ายายม่อม

ชื่อพื้นเมือง       : ท้าวยายม่อม, ว่านพญาหอกหลอก

วงศ์               :  (DIOSCOREACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze

ชื่อสามัญ         :  East Indian arrow root

ลักษณะของสมุนไพร ต้นเท้ายายม่อม จัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร (ใช้ทำแป้ง) ลักษณะของหัวเป็นรูปกลม กลมแบน หรือรูปรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-4 นิ้ว ผิวด้านนอกบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อในหัวเป็นสีขาวใส ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือการแยกหัว มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก ไปจนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ และพบขึ้นหนาแน่นในบางพื้นที่ ยกเว้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งระดับต่ำ ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาดใบเท้ายายม่อม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนออกเป็นแนวรัศมี

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง หัวเท้ายายม่อมสามารถนำมาใช้ทำแป้งได้ ซึ่งเรียกว่า “William’s arrow root“, “Arrowroot starch” หรือ แป้งเท้ายายม่อม (ชื่อทางการค้าใช้คำว่า “แป้งท้าวยายม่อม“) ใช้เป็นอาหารอย่างดีสำหรับคนไข้ที่ร่างกายอ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหารหลังฟื้นไข้ โดยจะช่วยทำให้เกิดกำลัง ชุ่มชื่นหัวใจ ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้เร็ว จะมีสรรพคุณเป็นยาทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ร้อนใน และช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร แป้งที่สกัดได้จากหัวสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด ดอกและยอดอ่อนนำมาต้มจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ หรือนำยอดอ่อนมาผัดกับน้ำกะทิสด แป้งจากหัวใช้เป็นเครื่องประทินผิว ลดสิวฝ้า ทำให้หน้าขาวได้ ด้วยการใช้แป้งเท้ายายม่อมผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้สักครู่แล้วค่อยล้างออก หรือนำมาใช้ผัดหน้าแทนแป้งฝุ่น

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 บ้านซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางบุญชิด กาปาทุม  อายุ 62 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 792 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก