ย่านาง

ชื่อสมุนไพร       : ย่านาง

ชื่อพื้นเมือง       : เถาย่านาง

วงศ์               :  (MENISPERMACEAE)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Limacia triandra Miers

ชื่อสามัญ         :  Bai-ya-nang

ลักษณะของสมุนไพร เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ในวงศ์ Menispermaceae เถากลม เหนียว เมื่ออ่อยสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเทา ใช้ลำต้นเลื้อยพันต้นอื่น ใบเดี่ยว ดอกช่อแบบแตกแขนง ผิวเกลี้ยงเป็นมันสีเขียว สุกเป็นสีส้มอมแดง เมล็ดแข็งเพียงเมล็ดเดียว เถากินแก้ไข้ รากแก้ไข้ รักษาโรคประดง อาหารไทยอีสานและอาหารลาวใช้ใบย่านางเป็นส่วนผสมในแกงลาว ใช้ทำเครื่องดื่ม ในเวียดนามใช้ทำเยลลี่

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 บ้านซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางบุญชิด กาปาทุม  อายุ 62 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 792 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก