ลูกใต้ใบ

ชื่อสมุนไพร       : ลูกใต้ใบ

ชื่อพื้นเมือง       : หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง, หญ้าใต้ใบ, ไฟเดือนห้า, หญ้าใต้ใบขาว, หน่วยใต้ใบ, มะขามป้อมดิน เป็นต้น

วงศ์               :  PHYLLANTHACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.

ชื่อสามัญ         :  Egg woman, Tamalaki, Hazardana, Stonebreaker, Seed-under-leaf

ลักษณะของสมุนไพร ลูกใต้ใบจัดเป็นไม้ล้มลุก สูง 10 – 60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 – 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ นำต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน แก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้จับสั่น ไข้ทับระดู ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากการอ่อนเพลีย) แก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย และแก้บิด 

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล นางพิมล  ทองรัตน์ อายุ 46 ปี

ที่อยู่ 115/1 หมู่ 10 ตำบลแก่งโสภา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก