ไส้ตัน

ชื่อสมุนไพร       : ไส้ตัน

ชื่อพื้นเมือง       : โมกเครือ, เครือไส้ตัน, เดื่อเครือ,  เดื่อดิน, เดื่อเถา,  เดื่อไม้, เดือยดิน, เดือยดิบวงศ์ เป็นต้น

วงศ์             :  APOCYNACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Aganosma marginata (Roxb.) G. Don 

ลักษณะของสมุนไพร ไส้ตัน จัดเป็นไม้เลื้อยมีลำต้นเป็นเถาพันต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะ ลำต้นมีความสูงต้นประมาณ 4- 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 7.4 – 11.8 มิลลิเมตร เปลือกต้น เรียบมีสีน้ำตาลแดง-น้ำตาลเข้ม มีตุ่มสีขาวตามลำต้น มีน้ำยางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้าม มี 8 – 13 คู่ รูปใบรียาว ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้าเล็กน้อย รูปร่างใบขอบขนานกว้าง 4.0 – 5.2 เซนติเมตร ยาว 8.2 – 12.1 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire)ใบเป็นมัน หน้าใบหลังใบไม่มีขน ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.4 – 0.6 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นคลื่นสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ดอก ออกดอกที่ยอดหรือปลาย ช่อดอกมี 4 – 5 ดอก ยาว 6.0 – 6.5 เซนติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย สีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ใน 1 ดอก มี 5 กลีบ ผล เป็นฝักคู่เรียวยาวผิวเรียบ มีสีเขียว พอผลแก่แห้งเป็นสีน้ำตาล และแตกอ้าออกเห็นเมล็ดข้างใน เมล็ด เป็นสีน้ำตาลมีขนสีขาวติดอยู่ 

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ต้น เข้ายารักษาประดง (อาการปวดผิวหนังมีผื่นคัน คล้ายผด คันมากมักมีไข้ร่วม) แก้พิษฝีภายใน ราก บำรุงกำลังฟื้นไข้ แก้ไตพิการ ตับพิการ หรือใช้ต้นผสมกับผลมะตูมอ่อน เถาสิงโตทั้งต้น และว่านมหากาฬทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาเบาหวาน 

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  วัดพระพุทธบาทเขาน้อยเจริญธรรม ม.13 บ้านใหม่เขาน้อย ต.แก่งโสภา

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล คุณสุบิน  ปัญทา     อายุ 65 ปี ที่อยู่ 454 ม.13 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก