ต้นงิ้ว

ชื่อสมุนไพร       : ต้นงิ้ว

ชื่อพื้นเมือง       : งิ้วบ้าน, งิ้วแดง, งิ้วปง, งิ้วปกแดง, สะเน้มระกา, งิ้วป่า, งิ้วปงแดง, งิ้วหนาม เป็นต้น

วงศ์               :  MALVACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Bombax ceiba L.

ชื่อสามัญ         :  Cotton tree, Kapok tree, Red cotton tree, Silk cotton, Shving brush

ลักษณะของสมุนไพร ต้นงิ้ว จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางหรือใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นเปลาตรง      มีหนามทั่วไป ใบ เป็นใบเดียวลักษณะเรียงเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายกิ่งช่อหนึ่งมีปลายใบย่อยแผ่ออกเป็นวงกลม 5-7 ใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง ขอบใบเรียบ ก้านช่อใบยาวโคนก้านบวมเล็กน้อย ดอก โตสีชมพูแกมเลือดหมูที่เป็นสีทองหายาก มีกลิ่นหอมเอียน ออกเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-5 ดอก ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยแข็ง ๆ สีคล้ำขอบหยัก 3-4 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน เมื่อบานเต็มที่ ขนาด 8-10 ซม. ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วนกลับมาทางขั้วดอก หลุดล่วงง่าย เกสรผู้มีจำนวนมาก ติดกันเป็นกลุ่ม และอยู่ติดกับฐานดอกด้านใน ผล รูปทรงกระบอก ผิวแข็ง เมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอย ประสาน เมล็ดเล็ก รูปทรงกลมสีดำมีจำนวนมาก ห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ใช้เปลือกต้นงิ้วแดง 1 กิโลกรัม นำมาล้างให้สะอาดและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปใส่ในหม้อต้มยาสมุนไพร เติมน้ำสะอาดลงไป 5 ลิตรและต้มจนเดือด แล้วให้รินเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 มิลลิเมตร) วันละ 2 ครั้งทุกเช้าและเย็น ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาใช้ชะล้างทำความสะอาดแผล ใบแห้งหรือใบสดนำมาตำใช้ทาแก้อาการฟกช้ำ แก้บวม มีอาการอักเสบ ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาแก้พิษไข้ รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาทำให้อาเจียนถอนพิษ

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  วัดพระพุทธบาทเขาน้อยเจริญธรรม ม.13 บ้านใหม่เขาน้อย ต.แก่งโสภา

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล คุณสุบิน  ปัญทา     อายุ 65 ปี ที่อยู่ 454 ม.13 ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก