มะคำไก่

ชื่อสมุนไพร       : มะคำไก่

ชื่อพื้นเมือง       : มะองนก, หมากค้อ มักค้อ (ขอนแก่น), มะคำไก่ มะคำดีไก่ (ภาคกลาง) ,ประคำไก่, ปะอานก,ยาแก้โอวนก (เหนือ),ทะขามกาย (ตะวันออก)

วงศ์                         :  EUPHORBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Drypetes roxburghii (Wall.) Hurusawa

ลักษณะของสมุนไพร มะคำไก่ เป็นไม้ต้น ต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล กิ่งทอดห้อยลงใบมะคำไก่ ใบดี่ยว เรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ใบหนา สีเขียว เป็นมันดอกมะคำไก่ เพศผู้และเมียอยู่ต่างต้นกันผลมะคำไก่ รูปทรงกลม สีขาวอมเทา สุกสีดำ การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

รูปภาพ

การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น/สรรพคุณ ต้น – เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ใบ ผล และเมล็ด – กินเป็นยาลดไข้ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ใบตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัยราก – มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายในทั้ง 5 เช่น มะเร็งในตับ ฝี แก้วัณโรค ขับปัสสวะ ใบ – มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัยทั้ง 5 รสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงภายนอกภายใน แก้ฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะยาทาพระเส้น ยาตำรับนี้ใช้ทาแก้โรคเส้นพิรุธ แก้ลมอัมพาต ลมปัฏฆาตกร่อน ตะคริว จับโปง เมื่อยขบ สำหรับส่วนผสมในตำรับยาก็คือ พริกไทย ข่า กระชาย หอม กระเทียม มหาหิงคุ์ ยาดำ ทั้ง 7 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 1 ส่วน, ตะไคร้หอม ใบขี้เหล็ก ใบตองแตก ใบมะขาม ใบเลี่ยน ทั้ง 5 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 4 ส่วน, นอกจากนี้ยังมี ใบมะคำไก่ 16 ส่วน

แหล่งที่พบจากการสำรวจ  :  หมู่ที่ 9 บ้านซำตะเคียน ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูล ชื่อ – สกุล  นางบุญชิด กาปาทุม  อายุ 62 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 792 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก